เมนู

เพราะเหตุว่า ปัญญานี้ใด ที่ถึงความแตกฉานในธรรม อรรถ นิรุตติ
และปฏิภาณ ท่านเรียกว่า ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ 8 เหล่านี้ใด โดยนัยว่า ผู้มีรูป
ย่อมเห็นรูป เป็นต้น. สาวกบารมีนี้ใด ที่ให้สำเร็จสาวกสมบัติ อันพระสาวก
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงบรรลุ. ปัจเจกพุทธโพธิใด ที่ให้สำเร็จ
ความเป็นพระสยัมภู และพุทธภูมิใด ที่ให้สำเร็จความเป็นผู้สูงสุดแห่งสรรพ-
สัตว์ อิฐผลที่ตรัสเป็นส่วนที่ 5 แม้นี้พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคล
ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ซึ่งเขาทำแล้วโดยชอบ.

พรรณนาคาถาที่ 16


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงผลที่ตรัสไว้ว่า เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ปรารถนาอิฐผลใด ๆ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้
เป็นอย่าง ๆ ไปด้วยคาถา 5 คาถาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงสรรเสริญ
บุญสัมปทา ที่เข้าจักนี้ว่าเป็นนิธิที่อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างนี้ ทั้งหมด
จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า
บุญสัมปทานนี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว.

พรรณนาบทแห่งคาถานั้น ดังนี้. บทว่า เอวํ เป็นคำแสดงความที่
ล่วงแล้ว. ชื่อว่า มหัตถิกา เพราะมีประโยชน์มาก. ท่านอธิบายว่า เป็น
ไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่. ปาฐะว่า มหิทฺธิกา ดังนี้ก็มี. บทว่า เอสา
เป็นคำอุเทศ [กระทู้] ยกบุญสัมปทา ที่ตรัสตั้งต้น แต่บทนี้ว่า ยสฺส ทาเนน
สีเลน
จนถึงบทว่า กยิราถ ธีโร ปุญฺญานิ ด้วยคำอุเทศนั้น. ศัพท์ว่า
ยทิทํ เป็นนิบาต ลงในอรรถทำให้พร้อมหน้ากัน. เพื่อทรงอธิบายบทอุเทศที่
ทรงยกขึ้นว่า เอสา จึงทรงทำให้พร้อมหน้ากันว่า ยา เอสา ด้วยศัพท์นิบาต
ว่า ยทิทํ นั้น. ความถึงพร้อมแห่งบุญทั้งหลาย ชื่อว่าบุญสัมปทา. บทว่า